เปิดเหตุผลเบื้องลึก "นักการเมืองดัง" จำใจบอกลาบ้านเก่าซบพรรคใหม่



เปิดเหตุผลเบื้องลึก "นักการเมืองดัง" จำใจบอกลาบ้านเก่าซบพรรคใหม่

เปิดเหตุผลเบื้องลึก "นักการเมืองดัง" จำใจบอกลาบ้านเก่าซบพรรคใหม่


ชัดเจนแล้วว่า นักการเมืองระดับ "บิ๊กเนม" อย่าง นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงและอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รวมทั้งนักการเมืองชื่อดังคนอื่นๆ อาทิ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ นายนิคม ไวยรัชพานิช นายประภัสร์ จงสงวน ฯลฯ ได้ตัดสินใจย้ายจากพรรคเพื่อไทย แล้วไปสมัครสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ

>> "จาตุรนต์-ณัฐวุฒิ" นำทีมอดีตสมาชิก "เพื่อไทย" สมัครเข้า "ไทยรักษาชาติ"

>> แกนนำ "เพื่อไทย" พรึ่บเข้า "พรรคไทยรักษาชาติ"-อดีต บ.ก.บางกอกโพสต์โผล่แจม

>> “กรุง ศรีวิไล” ปาดน้ำตาอำลา “ภูมิใจไทย” ซบ “พลังประชารัฐ”

แม้จะเป็นข่าวมาเป็นระยะ แต่การย้ายพรรคครั้งนี้ก็น่าสนใจ เพราะนักวิเคราะห์ทางการเมืองเห็นตรงกันว่าเป็นความจำเป็นของพรรคใหญ่ โดยเฉพาะ "พรรคเพื่อไทย" หากหวังจะสู้กับกติกาการเลือกตั้งใหม่ที่เรียกว่า "จัดสรรปันส่วนผสม" 

ในระบบการเลือกตั้งแบบเดิมเป็นระบบที่ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ ใบแรกเลือก ส.ส. เขต และใบที่สองเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค ตามสโลแกน "เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ" ส.ส.ทั้ง 2 แบบจึงมาจาก 2 ทางแล้วมารวมจำนวนกันในตอนท้าย

แต่กติกาการเลือกตั้งใหม่ บัตรเลือกตั้งจะเหลือแค่ใบเดียว โดยรวม ส.ส.ทั้ง 2 แบบเข้าด้วยกัน คือ ส.ส.เขต 350 คน และบัญชีรายชื่อ 150 คน 

คะแนนจากบัตรใบเดียวนอกจากจะตัดสินว่าใครจะได้ ส.ส.เขต คือผู้ที่ได้อันดับ 1 ในเขตนั้นๆ ยังจะนำทุกคะแนนของทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ไปรวมกันเพื่อคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อด้วย

>> สูตรคณิตศาสตร์ "พรรคเพื่อไทย" กับสูตรความ (น่าจะ) เป็น

การคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อจะใช้วิธีดังนี้

(1) นำผู้มาออกเสียงเลือกตั้งทั้งประเทศมารวมกัน หารด้วยจำนวน ส.ส. ทั้งสองแบบรวมกัน 500 คน จากการประเมินน่าจะได้ราวๆ 70,000 คะแนน / ส.ส. 1 คน (ซึ่งจะเป็นจำนวนที่ถูกพูดถึงในข่าวอยู่บ่อยๆ ในช่วงนี้) 

(2) จากนั้นนำคะแนนรวมทั้งประเทศเฉพาะที่แต่ละพรรคได้ หารด้วย 70,000 จะได้จำนวนที่เรียกว่า "ส.ส.ที่พึงมี" ซึ่งจะเป็นเส้นแบ่งและกำหนดว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคมีได้กี่คน

(3) แต่ละพรรคจะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเท่าใด ให้เอา "ส.ส.ที่พึงมี" ลบด้วย "ส.ส.เขต" ที่พรรคได้ เหลือเท่าใด คือ จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่จะได้

ยกตัวอย่าง เช่น ผลเลือกตั้งเมื่อปี 54 ถ้านำคะแนนของพรรคเพื่อไทยมาคำนวณสูตรใหม่ จะได้ "ส.ส.ที่พึงมี" 224 คน แต่พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.เขตมาแล้ว 204 คน จึงจะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเท่ากับ 224-204 = 20 คน

แต่สิ่งที่พรรคใหญ่โดยเฉพาะเพื่อไทยกลัวคือ หากได้จำนวน "ส.ส.ที่พึงมี" น้อยกว่าจำนวน ส.ส. เขต จะส่งผลให้ไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเลยแม้แต่คนเดียว เช่น คำนวณมาได้ "ส.ส.ที่พึงมี" 192 คน แต่ได้ ส.ส.เขตมาแล้ว 200 คน 192-200 = ติดลบ 8 ดังนั้นจะไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่มมาเลย

ความกังวลนี้มีความเป็นไปได้สูง เพราะ "ระบบจัดสรรปันส่วนผสม" ออกแบบมาให้พรรคที่ได้ ส.ส.เขตมาก จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อน้อย

ดังนั้น การแยกตัวไปอยู่พรรคใหม่ของ ส.ส.เบอร์ใหญ่หรือบิ๊กเนม ที่เคยอยู่ในระบบบัญชีรายชื่อ จึงเป็นความเชื่อที่ว่า ยังมีโอกาสจะกลับเข้าสู่สภา มากกว่าจะลุ้นอยู่กับพรรคเก่าที่ชนะเลือกตั้งหลายเขต แต่อาจไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเลยแม้แต่คนเดียว

>> จำลองผลการเลือกตั้งปี 2554 ด้วยกลไกรัฐธรรมนูญ 2560


----------------ADS----------------




___________________________
ข่าวบันเทิง ข่าวดารา 

ที่มา : www.sanook.com
_____________________________________________

ความคิดเห็น