7 สัญญาณอันตราย รีบรักษา “รากฟัน” โดยด่วน ก่อนสายเกินแก้



7 สัญญาณอันตราย รีบรักษา “รากฟัน” โดยด่วน ก่อนสายเกินแก้

7 สัญญาณอันตราย รีบรักษา “รากฟัน” โดยด่วน ก่อนสายเกินแก้


ผู้ที่มีฟันผุ ฟันเป็นรู หรือฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ เนื้อฟันแตก หัก จนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน สามารถรักษาฟันไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันออก ช่วยป้องกันไม่ให้มีผลกระทบต่อฟันซี่อื่น แต่หากละเลยไม่รักษาอาจนำไปสู่การติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน และอวัยวะข้างเคียงได้


ฟันผุ ฟันเป็นรู เสี่ยงรากฟันติดเชื้อ
ทันตแพทย์สมศักดิ์ ศรีพนารัตนกุล ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ
สถาบันทันตกรรม กล่าวว่า เมื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อจะทำให้เกิดความเจ็บปวด และอาจเกิดหนองที่ปลาย
รากฟัน ซึ่งอาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง การรักษารากฟันจะช่วยหยุดการติดเชื้อ ลดอาการปวดฟัน และทำให้ฟันซี่นั้น ยังคงอยู่ต่อไปได้ 

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษารากฟัน คือวิธีรักษาการติดเชื้อ
ในโพรงประสาทฟันจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในปาก  เข้าไปสร้างปัญหาเมื่อเกิดฟันผุ ฟันเป็นรู หรือฟันที่ได้รับอุบัติเหตุทำให้เนื้อฟันแตก หัก

การรักษารากฟันไม่จำเป็นต้องถอนฟัน ภายหลังการรักษาจะช่วยให้การเคี้ยวอาหารกลับมามีประสิทธิภาพ รูปร่างของฟันกลับมาสวยงาม และป้องกันไม่ให้มีผลกระทบต่อฟันซี่อื่น แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ฟันซี่นั้นเสียหายจนต้องถอนฟัน



ถอนฟันโดยไม่ใส่ฟันปลอม เสี่ยงอันตราย
การถอนฟันที่ไม่มีการใส่ฟันปลอมทดแทน จะก่อเกิดปัญหาต่อการกัดหรือเคี้ยวอาหาร ทำให้ฟันเคลื่อน และยากต่อการทำความสะอาดช่องปาก ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ และรับการตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน



สัญญาณเตือนว่าควรรับการรักษารากฟัน
รู้สึกเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่เย็นหรือร้อน

เจ็บเวลาเคี้ยวหรือกัดอาหาร

ฟันหลวมหรือโยก

ฟันมีอาการบวมและนิ่มลงของเหงือกบริเวณฟันที่ติดเชื้อ

มีน้ำหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ หรือมีตุ่มหนองขึ้นบนเหงือก

สีของฟันคล้ำลง

หน้าบวม


วิธีรักษารากฟัน
ทันตแพทย์จะรักษาโดยการทำความสะอาดในโพรงประสาทฟัน และอุดปิดด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน และทำการบูรณะฟันด้วยการอุดฟันหรือครอบฟันในซี่ที่ได้รับการรักษารากฟัน



วิธีปฏิบัติตัวหลังเข้ารับการรักษารากฟัน
ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันในช่วงแรก อาจมีอาการเจ็บภายหลังการรักษา จึงควรปฏิบัติตัวดังนี้

งดรับประทานอาหารจนกว่าอาการชาที่ปากจะหมดไป เพื่อป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้มโดยไม่ตั้งใจ

ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหรือกัดอาหารด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟัน

รักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติ

หากรู้สึกว่ามีวัสดุอุดฟันชั่วคราวหลุดออกมา หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น มีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัดให้รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการแก้ไข
ขอขอบคุณ

ข้อมูล :กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ภาพ :iStock


----------------ADS----------------




___________________________
ข่าวบันเทิง ข่าวดารา 

ที่มา : www.sanook.com
_____________________________________________

ความคิดเห็น